วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 3 4 5 6 7

 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. จงอธิบายถึงผลกระทบของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
    
      ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ
 
- มนุษย์สามารถจับจ่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด หากต้องการซื้ออะไรที่ไม่ได้เตรียมการไว้ร่วงหน้า ก็สามารถซื้อได้ทันที เพียงแต่มีบัตรเครดิตเท่านั้นทำให้อัตราการเป็นนี้สูงขึ้น
- การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมาก ขึ้นเพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรซึ่งก็เกิด ผลดีคืออัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงขึ้นแต่ ผลกระทบก็เกิดตามมาคือ บางครั้งก็มุ่งแต่แข่งขันกันจนลืมความมีมนุษย์ธรรมหรือความมีน้ำใจไป
ด้านการศึกษา
จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่าCAIนั้นทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน เช่น
- ครูกับนักเรียนจะคาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกั เพราะนักเรียนสามารถที่จะเรียนได้จากโปรแกรมสำเร็จรูป ทำความสำคัญของโรงเรียนและครูลดน้อยลง
- นักเรียนที่มีฐานะอยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ทำให้เกิดข้อได้ เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างนักเรียน ที่มีฐานะดีและยากจนทำให้เห็นว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมที่จะมีโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมดีกว่าด้วย
ด้านกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม
- ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานของแรงงานเพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์อีก
- การปรับตัวเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของพนักงานที่มีอายุมากหรือมี ความรู้น้อยก็จะทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ยาก ต้องมีความรู้จึงจะเข้าใจได้
- สมาชิกในสังคมมากรดำเนินชีวิตที่เป็นแบบต่างอยู่ไม่มีความสัมพันธ์กันภายในสังคมเพราะต่างมีชีวิตที่ต้องรีบเร่งและดิ้นรน

2.จากผลกระทบข้อที่ 1 นักศึกษาคิดว่า ผลกระทบด้านใดมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามากที่สุด จงอธิบายมาพอสังเขป
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
การขนส่งมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการพัฒนาระบบการขนส่ง ย่อมมีส่วนผลกระทบต่อการพัฒนาระบบอื่นๆ ของประเทศด้วย การพัฒนาระบบการขนส่งที่ดีย่อมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผลผลิตจากภาคชนบทสู่ ตัวเมือง ทำให้คนชนบทมีรายได้ดีขึ้นแต่ก็ส่งผลกระทบให้ประชาชนในชนบทในชนบทเปลี่ยนการ ดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม
3.จงบอกผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา
 ผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน 
1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศ
4. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ

4.จงบอกผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของ  นักศึกษา
 ผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
 มีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
 เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จมากขึ้น
 เกิดข้อมูลหลอกลวง
 มีผลกระทบต่อการศึกษา ผู้เรียน เด็ก ติดเกม มากขึ้น
 เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
 เป็นช่องทางในการเกิดอาชญากรรม


แบบฝึกหัดบทที่ 6

การสืบค้นและการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

1.ความสำคัญแหล่งสารสนเทศ

- ช่วยให้เรามีความรู้ พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ให้เรามีความข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นคนทันสมัย
2.เราสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที่ใดได้บ้าง และในแหล่งนั้นๆ มีข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบ
   
 -  ห้องสมุด รูปแบบสิ่งพิมพ์
 - ศูนย์เอกสารหรือศูนย์ข้อมูล  รวบรวมข้อมูลในสาขาใดสาขาหนึ่ง เพื่อให้บริการนักวิจัย นักวิชาการ
    ฯลฯ

3.ตัวอย่างแหล่งสืบค้นข้อมูล (search engine)  รูปแบบการสืบค้นข้อมูล

 -  google.com  เป็นการสืบค้นข้อมูลต่างๆ เช่น รูปภาพ  วิดีโอ  รวมไปถึง มีแปลภาษา  แผนที่

4.จงบอกลักษณะของการบริการต่างๆ และยกตัวอย่างช่อแหล่งที่ใช้บริการต่อไปนี้

4.1 FTP →ใช้ในการโอนย้าย หรือคัดลอกแฟ้มข้อมูล และแฟ้มโปรแกรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4.2 E-mail→เป็นบริการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุด

4.3 ICQ→ เป็นโปรแกรมสื่อสาร ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร กับทุกคน


4.4 Web board→ เป็นการเปิดเว็บไซต์ ที่ให้ผู้คนมาพบปะ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกันได้ ตามกลุ่มหรือหัวเรื่องที่ตนสนใจ


แบบฝึกหัดบทที่ 5

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

1. จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด                          
ตอบ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต 
การพัฒนาอาร์พาเน็ตได้ดำเนินการมาเป็นลำดับและได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น 316 ของฮันนีเวลล์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host) และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันและอยู่ในสถานที่ 4 แห่งคือ 
1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส 
2) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 
3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา 
4) มหาวิทยาลัยยูทาห์ 
อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้อาร์พาเน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่ใช้งานได้จริง หน่วยงานอาร์พามีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2515 และเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency : DARPA) และต่อมาได้โอนความรับผิดชอบอาร์พาเน็ตให้กับหน่วยการสื่อสารของกองทัพในปี พ.ศ. 2518 
เครือข่ายอาร์พาเน็ตนั้นได้มีแผนการขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้เกณฑ์วิธี หรือโพรโทคอล (protocol) ชื่อ คาห์น-เซอร์ฟ (Kahn-Cerf Protocol) ตามชื่อของผู้ออกแบบคือ บ๊อบ คาห์น (Bob Kahn) และวินตัน เซอร์ฟ (Vinton Cerf) ซึ่งก็คือ โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol : TCP/IP) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน และได้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต้องการต่ออินเทอร์เน็ตใช้โพรโทคอลนี้ในปี พ.ศ. 2526 

ในปลายปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งออกเป็นสองเครือข่ายคือ เครือข่ายวิจัย (ARPAnet) และเครือข่ายของกองทัพ (MILNET) โดยในช่วงต้นนั้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายแกนหลักสำคัญภายในทวีปอเมริกาเหนือ และในช่วงเวลาต่อมาหน่วยงานหลักของสหรัฐที่มีเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เชื่อมต่อเข้ามา เช่น เอ็นเอฟเอสเน็ต (NFSNet) และเครือข่ายของนาซา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก อาร์พา เป็นเฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และเปลี่ยนไปเป็น ทีซีพี/ไอพี  อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งเป็นอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น


2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ตอบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทคเครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมายเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยมการเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น


3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้าง 
    และมี URL ว่าอย่างไร


ตอบ  ธุรกิจการสื่อสาร เช่น DTAC มี URL ว่า https://www.dtac.co.th/?gclid=CNC_-IP_qrQCFYl66wod4ysA0A

4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไร 
    บ้าง และทำหน้าที่อะไร

ตอบ ไอซ็อก ไอเอบี ไออีทีเอฟ และไออาร์ทีเอฟ ไอซ็อก 
สมาคมอินเทอร์เน็ต หรือ ไอซ็อก (ISOC : Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2535 ไอซ็อกเป็นองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไรและมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตให้แพร่หลาย รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยไอเอบี ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอซ็อกยังทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและให้ทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ไอเอบี

ไอเอบี (IAB : Internet Architecture Board) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 แต่เดิมนั้นใช้ชื่อว่า Internet Activities Board เมื่อไอซ็อกถือกำเนิดขึ้นก็ได้โอนไอเอบีเข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด หน้าที่ของไอเอบีคือผลักดันและดูแลพัฒนาการด้านเทคนิคของอินเทอร์เน็ตให้กับไอซ็อก ไอเอบีดูแลองค์กรสองแห่งซึ่งดำเนินงานด้านเทคนิคโดยตรงได้แก่ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอเอบียังทำหน้าที่จัดการงานบรรณาธิการและตีพิมพ์เอกสาร อาร์เอฟซี และการกำหนดหมายเลขเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต โดยไอเอบีมอบภาระงานทั้งสองนี้ให้กับ บรรณาธิการอาร์เอฟซี (RFC Editor) และ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ตามลำดับ ไออีทีเอฟ 

ไออีทีเอฟ (IETF : Internet Engineering Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออีเอสจี (IESG : Internet Engineering Steering Group) ไออีทีเอฟประกอบด้วยอาสาสมัคร และผู้เชี่ยวชาญร่วมมือกันพัฒนาสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต และช่วยให้อินเทอร์เน็ตดำเนินการได้โดยราบรื่น ไออีทีเอฟเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมทำงานได้ ไออีทีเอฟทำหน้าที่ด้านเทคนิคโดยการสร้าง ทดสอบ และนำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน มาตรฐานอินเทอร์เน็ตจะผ่านการพิจารณาเห็นชอบโดยไออีเอสจีโดยมีไอเอบีเป็น ที่ปรึกษา งานด้านเทคนิคของไออีทีเอฟแบ่งออกได้เป็นสาขา แต่ละสาขาประกอบด้วยคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีผู้อำนวยการสาขา (Area Directors) เป็นผู้ดูแลจัดการ ผู้อำนวยการสาขาทั้งหมดรวมกับประธานของไออีทีเอฟจะประกอบกันเป็นไออีเอสจี ขณะปัจจุบันไออีทีเอฟจัดแบ่งออกเป็น 9 สาขาได้แก่ สาขาประยุกต์ (Applications Area), สาขาทั่วไป (General Area), สาขาอินเทอร์เน็ต (Internet Area), สาขาการดำเนินงานและการจัดการ (Operations and Management Area), สาขาการเลือกเส้นทาง (Routing Area), สาขาความปลอดภัย (Security Area), สาขาโปรโตคอลทรานสพอร์ต (Transport Area), สาขาการให้บริการผู้ใช้ (User Services Area), และสาขางานย่อยไอพี (Sub-IP Area) ทั้ง 9 สาขานี้ในปัจจุบันประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) รวมทั้งสิ้น 133 กลุ่ม ไออาร์ทีเอฟ 


ไออาร์ทีเอฟ (IRTF : Internet Research Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานวิจัยที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออาร์เอสจี (IRSG : Internet Research Steering Group) งานของไออาร์ทีเอฟเน้นหนักงานวิจัยระยะยาวในอินเทอร์เน็ต ขณะที่ไออีทีเอฟเน้นหนักงานด้านวิศวกรรมและการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้งานในปัจจุบัน ไออาร์ทีเอฟมีคณะวิจัย (Research Groups) ในด้านต่างๆได้แก่ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล การประยุกต์ สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยี รวมทั้งสิ้น 12 คณะ องค์กรดูแลด้านข้อมูลและทะเบียน องค์กรในกลุ่มนี้ทำหน้าที่เชิงการจัดการด้านเทคนิคและการประสานงานเครือข่าย งานหลักส่วนหนึ่งในการดำเนินการอินเทอร์เน็ตได้แก่ การจัดสรรแอดเดรส การกำหนดค่าพารามิเตอร์และทะเบียนหมายเลขประจำแต่ละโปรโตคอล รวมทั้งการบริหารโดเมนและจดทะเบียนโดเมน งานนี้แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานรัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันภาระงานนี้ได้ถ่ายโอนไปยังหน่วยงานใหม่ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 คือ ไอแคน (ICANN : The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ไอแคนเป็นบรรษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร และบริหารจัดการโดยคณะกรรรมการที่ได้รับเลือกมาจากนานาชาติ ไอแลนมอบอำนาจให้ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แบ่งออกไปตามภูมิภาคทำหน้าที่ดูแลการจัดสรรแอดเดรสและบริหารโดเมน

5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน

ตอบ IP Address เครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้รหัสหมายเลขมากำหนดให้แต่ละเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ภานในเครือข่ายที่เชื่อมโยง เรียกหมายเลขเหล่านั้นว่า IP Address หรือ Internet Address ซึ่งการติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตจะอาศัยหมายเลข IP Address นี้ในการระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางโดย IP Addressประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 32บิต แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็ทำการแปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนคั่นด้วยจุด ดังนั้น หมายเลขทั้งหมดที่เป็นไปได้ โดยค่าไม่ซ้ำกันคือ 2 หรือเท่ากับ4,294,967,296 จำนวน มีค่าหมายเลขตั้งแต่ 000.000.000.000 จนถึง 255.255.255.255 หมายเลขนี้เองที่อินเตอร์เน็ตใช้กำหนดให้กับเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อ้างอิง IP Address บางหมายเลขสงวนไว้ใช้ด้วยจุดมุ่งหมายกรณีพิเศษทำให้ IP Address ที่ใช้งานทั่วไปลดลงจากจำนวนที่เป็นไปได้ ความหมายของ IP Address จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 
1. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครือข่าย (Network Number) 
2. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในเครือข่าย (Host Number) 
IP Address ในกลุ่มรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถซ้ำกันได้แต่กลุ่มรหัสประจำเครือข่ายจะซ้ำกันไม่ได้ ดังนั้นรหัสเครื่องที่ซ้ำกันจึงไม่มีผลต่อการอ้างอิงถึง นอกจากนี้เพื่อความเหมาะสมในการกำหนด IP Address ให้กับผู้ขอ ทางผู้บริหารของอินเตอร์เน็ตแบ่ง คลาสของผู้ขอ IP Address ตามขนาดของเครือข่าย เพื่อให้ ทรัพยากรส่วนนี้ถูกใช้อย่าง คุ้มค่าที่สุด องค์กรขนาดใหญ่ก็จะจัดให้อยู่ในคลาสที่สามารถกำหนด IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายได้ มาก การแบ่งคลาส จะแบ่งได้ 5 ระดับ (Class) คือ Class A, Class B, Class C, Class D, Class E แต่ที่ใช้งานในทั่ว ไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง 
ในปัจจุบัน IP ที่อยู่ใน Class A ถูกใช้ในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน Class B จะใช้กับองค์กรใหญ่ เช่น Nectec ส่วน บริษัทหรือบุคคลทั่วไป 
Domain Name เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกแทน IP Address ต่างๆ ที่เว็บไซต์นั้นๆ เก็บอยู่เพื่อให้ง่ายต่อการจดและเรียกใช้งาน หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยง และการใช้อินเตอร์เน็ต คือ Inter NIC (InternetNetwork Information Center) ผู้จัดการบริการ Domain ได้ทำการจัดตั้ง DNS (Domain Name System)เป็นฐานข้อมูลที่เก็บ และระบบจัดการชื่อลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า Domain Name Server โดยที่ Serverนี้ทำหน้าที่เป็นดัชนีในการเปิดดูบัญชีหมายเลข IP Address (Lookup) จาก Domain Name ที่รับเข้ามาหรือสรุป ง่ายๆ ก็คือทำการเปลี่ยนชื่อ Domain ให้เป็น IP Addressนั่นเองส่วนของ Domain Name ประกอบด้วยส่วนที่เป็นการกำหนดประเภทขององค์กรเจ้าของเครือข่ายนอกจากนั้น Inter NIC ยังอนุญาตให้เพิ่มการระบุว่าเครือข่ายหรือองค์กรเจ้าของเครือข่ายอยู่ในประเทศใด และผู้สร้างเครือข่าย สามารถกำหนดชื่อเครือข่ายย่อยที่มีอยู่ลงไว้ใน Domain Name ได้ด้วย ส่วนประกอบย่อยของ Domain Name แยกกันด้วยจุดเช่นเดียวกับ IP Address ตัวอย่างของ Domain Name Domain Name เจ้าของ 
www.microsoft.com บริษัทไมโครซอฟต์ 
www.amazon.com ร้านขายหนังสือ Amazon 
www.nontri.ac.th มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
Domain Name ประกอบด้วย 3 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า "subdomains" ซึ่งมีความหมายดังนี้ 
ส่วนแรก บอกถึงชนิดของ Server ว่าเป็น WWW server หรือเป็น FTP server 
ส่วนสอง เป็นชื่อของ Domain ซึ่งมักจะตั้งตามชื่อของบริษัทหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของ 

ส่วนสาม เป็นส่วนที่ระบุถึงชนิดและสัญชาติของ Domain นั้นๆ เช่น นามสกุลของ Domain Name คำ

6.เครือข่ายสังคมคืออะไร มีอะไรบ้างพร้อมให้ความหมายโดยย่อ

ตอบ เครือข่ายสังคมหรือชุมชนเว็บ (Social Network or Web community) รูปแบบของห้องสนทนาถูกพัฒนาต่อมา เป็นการใช้เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความสนใจด้านเดียวกันมาติดต่อสื่อสารกัน และมีการเลือกชื่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายในลับกษณะนี้ว่า เครือข่ายสังคม (Social Network) หรือ ชุมชนเว็บ (Web Community) ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการประเภทนี้ ได้แก่
ICQ เป็นระบบรับส่งข้อความที่เน้นการหาคู่สนทนาที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต่อมาได้ขยายบริการเป็นการสร้างกลุ่มผู้สนใจเรื่องเดียวกันที่จะมาพบปะกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Face book เป็นเว็บไซต์หาเพื่อนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นการใช้รูปใบหน้าของผู้ต้องการหาเพื่อนเป็นสื่อเริ่มต้นสำหรับทำความรู้จัก ผู้หาเพื่อนจะจัดทำข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Profile) พร้อมกับรูปใบหน้าของตนฝากไว้ที่เว็บไซต์ ปัจจุบันเว็บไซต์นี้ให้บริการหลากหลายรูปแบบ ทั้งห้องสนทนา กระดานข่าวสาร กลุ่มหรือชุมชนเฉพาะด้าน
Hi5 เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมที่สนับสนุนให้ผู้ใช้สร้างกลุ่มสังคมของตนเองขึ้นมาโดยจัดทำข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Profile) พร้อมกับรูปกิจกรรมของตนฝากไว้ที่เว็บไซต์และเชิญชวนคนที่ตนรู้จักให้เข้ามาเยี่ยมชมและเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอเรื่องราวในรูปแบบของข้อความสั้นและภาพกิจกรรม
Twitter เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมในรูปแบบที่ผู้ที่ริเริ่มจัดทำหน้าข้อมูลส่วนบุคคล (Profile Page) ของตนฝากไว้ที่เว็บไซต์ พร้อมกับข้อความสั้น (Micro blog) ที่อาจเผยแพร่ทั่วไปหร์อเผยแพร่เฉพาะภายในกลุ่มสมาชิกตามความเหมาะสมของผู้ริเริ่ม ผู้ที่เข้าไปอ่านสามารถแสดงความคิดเห็นโดยพิมพ์เป็นข้อความสั้นไปฝากไว้

ประโยชน์ของเครือข่ายสังคม เช่น เป็นเครือข่ายที่เป็นการใช้งานเพื่อให้กลุ่มคนที่มีความสนใจด้านเดียวกันมาติดที่ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและไม่เสียเวลา

แบบฝึกหัดบทที่4

การสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                                                        
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

•ผู้ส่ง ( Sender ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น

•ผู้รับ ( Receiver ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์โทรทัศน์ เป็นต้น

•ข้อมูล ( Message ) คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่ต้องการส่ง ซึ่งอาจจะเป็น ตัวหนังสือ ตัวเลข รูป เสียง หรือวิดีโอ  ( ทั้งรูปและเสียง ) หรือสิ่งใดก็ตามที่ต้องการส่งหรือรับ

•สื่อกลาง ( Medium ) คือ สื่อกลางทางกายภาพที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นสื่อแบบสาย เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชี่ยล สายไฟเบอร์ออพติก หรือสื่อแบบไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุเลเซอร์ เป็นต้น

ความแตกต่างของสัญญาณอนาล็อก กับสัญญาณดิจิตอล

•ความ แตกต่างระหว่างอนาล็อก และ ดิจิตอล คือ อนาล็อกเป็นการบันทึกรูปแบบคลื่นเสียงลงบนตัวกลางเช่น เทป ส่วน ดิจิตอลเป็นการแปลงสัญญาณอนาล็อกที่เป็นคลื่นเสียงให้เป็นชุดของตัวเลขและทำ การบันทึกตัวเลขที่ได้แทน เมื่อมีการเล่น, ตัวเลขที่จะถูกแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับคลื่นอนาล็อกเดิม

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล

•แบบ ทิศทางเดียว (Simplex ) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศ ทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่นระบบวิทยุหรือโทรทัศน์

•แบบ กึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex ) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด

•แบบสองทิศทาง  Full Duplex  เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ และบรอดแบนด์คุณสมบัติของสายสัญญาณ และลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ

คุณสมบัติของสายสัญญาณ และลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ



Minimum Frequency (สูงสุด)
100 MHz
100 MHz
250 MHz
Attenuation (สูงสุด)
24 dB
24 dB
36 dB
NEXT (ต่ำสุด)
27.1 dB
30.1 dB
33.1 dB
PS-NEXT(ต่ำสุด)
N/A
27.1 dB
33.2 dB
ELFEXT(ต่ำสุด)
17 dB
17.4 dB
17.3 dB
PS-ELFEXT(ต่ำสุด)
14.4 dB
14.4 dB
12.3 dB
ACR(ต่ำสุด)
3.1 dB
6.1 dB
-2.9 dB
PS-ACR(ต่ำสุด)
N/B
3.1 dB
-5.8 dB
Return Loss(ต่ำสุด)
8 dB
10 dB
8 dB
Propagation Delay (สูงสุด)
548 nsec
548 nsec
546 nsec
Delay Skew (สูงสุด)
50 nsec
50 nsec
50 nsec


หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย
หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย  Repeater

•อุปกรณ์ ทวนสัญญาณ ทำงานใน Layer ที่ 1 OSI Model เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลเข้ามาแล้วสร้างใหม่ (Regenerate) ให้เป็นเหมือนสัญญาณ (ข้อมูล) เดิมที่ส่งมาจากต้นทาง จากนั้นค่อยส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น

หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย  Bridge

•อุปกรณ์ Bridge เป็นสิ่งที่ใช้แก้ไขปัญหาในเรื่องสัญญาณที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายมากเกินไปได้ โดยจะจัดแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือ NetworkSegment และจะทำการกลั่นกรองสัญญาณเท่าที่จำเป็นเพื่อส่งให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูก ต้องได้

หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย  Switch 

•Switch (สวิตซ์) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Switch  บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง

หน้าที่ของอุปกรณ์ เครือข่าย Gatewayเกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้


ข้อ ดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus) กับแบบวงแหวน (Ring)โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus 

เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ ข้อดี- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง- มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้น เดียว- ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ ข้อจำกัด- การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก- ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้

สาย ส่งข้อมูลน้อยจะใกล้เคียงกับแบบ Bus- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง- ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ ข้อจำกัด- ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้- ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด

ความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ และระดับตรรก

(cal data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับภายในไม่ส่งผลกระทบต่อระดับแนวคิด  การเปลี่ยนแปลงในระดับภายในได้แก่ การใช้โครงสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ หรือโครงสร้างการจัดเก็บใหม่ , ใช้หน่วยเก็บข้อมูลแบบอื่น , การแก้ไขดัชนีหรืออัลกอริธึมแบบแฮช

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)  โทโปโลยีแบบวงแหวนนี้จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็น ห่วงหรือวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว และจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไปในตัวแล้วส่งผ่านไปเครื่องถัดไป ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดหยุดทำงานก็จะทำให้ระบบเครือข่าย ล่มเช่นกัน ข้อดี- ใช้•ความเป็นอิสระของข้อมูลทางตรรกะ (Logical data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิดจะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับภายนอก  เช่น  การเพิ่มเอนติตี้ , แอททริบิวท์ และความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิด จะไม่กระทบ•ความเป็นอิสระของข้อมูลทางตรรกะ (Logical data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิดจะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับภายนอก  เช่น  การเพิ่มเอนติตี้ , แอททริบิวท์ และความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิด จะไม่กระทบกับมุมมองภายนอก หรือไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ความเป็นอิสระของข้อมูลในระดับกายภาพ (Physical data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับภายในไม่ส่งผลกระทบต่อระดับแนวคิด  การเปลี่ยนแปลงในระดับภายในได้แก่ การใช้โครงสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ หรือโครงสร้างการจัดเก็บใหม่ , ใช้หน่วยเก็บข้อมูลแบบอื่น , การแก้ไขดัชนีหรืออัลกอริธึมแบบแฮช

ความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และ แบบ Client-Server

•Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบclient-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็นserver เพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานและ bandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 

ไฮเปอร์มีเดีย

1. ยกตัวอย่างลักษณะของงานไฮเปอร์มีเดีย

ตอบ. ไฮ เปอร์มีเดีย (สื่อหลายมิติ) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาความรู้ต่างๆ ทั้งในรูปของ ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่างๆ ของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ ไฮเปอร์มีเดียเป็นการขยายแนวความคิดมาจากไฮเปอร์เทกซ์ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประสมประสานสื่อหรืออุปกรณ์หลายอย่าง(Multiple media) ให้ทำงานไปด้วยกันซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)
                                                                                                                                         

2. ให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลประเภทไฮเปอร์มีเดียมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

ตอบ.  ไฮเปอร์มีเดียสามารถใช้สำหรับจุดประสงค์ที่แตกต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ

1.การสืบค้น Browsimg ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียน
   ต่างๆ

2.การเชื่อมโยง Linkimg ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยังแฟ้มข้อมูลต่างๆ

3.สร้างบทเรียน Authoring หรือสร้างโปรแกรมการนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ



 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ

1.จงอธิบายลักษณะของข้อมูลที่ดีว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

     ตอบ. ข้อมูลที่ดีควรเป็นข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

•  ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (accuracy) ข้อมูลจะมีความถูกต้องและเชื่อถืได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นกับวิธีการที่ใช้ในการควบคุมข้อมูลนำเข้า และการควบคุมการประมวลผลการควบคุมข้อมูลนำเข้าเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลนำเข้ามีความถูกต้องเชื่อถือได้ เพราะถ้าข้อมูลนำเข้าไม่มีความถูกต้องแล้วถึงแม้จะใช้วิธีการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลที่ดีเพียงใด ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไม่มีความถูกต้อง หรือนำไปใช้ไม่ได้ ข้อมูลนำเข้าจะต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ข้อมูลบางอย่างอาจต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอาจต้องพิมพ์ข้อมูลมาตรวจเช็คด้วยมือก่อน การประมวลผลถึงแม้ว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลนำเข้าแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้ เช่น เกิดจากการเขียนโปรแกรมหรือใช้สูตรคำนวณผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดวิธีการควบคุมการประมวลผลซึ่งได้แก่ การตรวจเช็คยอดรวมที่ได้จากการประมวลผลแต่ละครั้ง หรือการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูลสมมติที่มีการคำนวณด้วยว่ามีความถูกต้องตรงกันหรือไม่

•  ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) ได้แก่ การเก็บเฉพาะข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเท่านั้น ไม่ควร เก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน เพราะจะทำให้เสียเวลาและเสียเนื้อที่ในหน่วยเก็บข้อมูล แต่ทั้งนี้ข้อมูลที่เก็บจะต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย

•  ข้อมูลมีความทันสมัย (timeliness) ข้อมูลที่ดีนั้นนอกจากจะเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้แล้วจะ ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ได้ทันเวลา นั่นคือจะต้องเก็บข้อมูลได้รวดเร็วเพื่อทันความต้องการของผู้ใช้



 2.จงอธิบายองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  พร้อมทั้งยกตัวอย่างระบบฐานข้อมูลในชีวิต ประจำวัน 


ตอบ. มี2องค์ประกอบ

1.) ข้อมูลมีการบูรณาการ คือข้อมูลที่มีลักษณะเดียวกันควรรวมอยู่ด้วยกันโดย จะลดการซ้ำซ้อนของข้อมูลบ้างส่วนออกไป โดยที่การจัดการข้อมูลก็ยังทำได้ตามความต้องการ

2.) ข้อมูลมีการใช้ร่วมกันได้ ระหว่างผู้ใช้หลายคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลชุดเดียวกันในเวลาเดียวกันได้(Concurrent Access)



3.จงอธิบายประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล


ตอบ. 1.)ข้อมูลมีความกระชับ(Compactness) 
         2.)จัดการได้รวดเร็ว(Speed)
         3.)ลดความน่าเบื่อหน่าย(Less Drudgery)
         4.)ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน(Currency) 


4.จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
 
 

4.1  MIS คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4.2  DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่งเนื่องจากผู้มีหน้าที่ตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยุ่แล้วในระบบ MIS ของบริษัท สำหรับการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4.3  ES คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหาร แก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น


4.4  DP เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจักการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวันและการเก็บรักษาข้อมูล


4.5  EIS เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศ และการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่าวได้ว่าระบบ EIS ก็คือส่วนหนึ่งของระบบ DSS ที่แยกออกมาเพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูงสุด


5. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศดังต่อไปนี้


5.1 MIS กับ DP 


MIS  คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
      

DP   ป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจักการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวันและการเก็บรักษาข้อมูล
  

5.2 DSS กับ MIS

DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่งเนื่องจากผู้มีหน้าที่ตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยุ่แล้วในระบบ MIS ของบริษัท สำหรับการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


MIS  คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


5.3 EIS กับ DSS


EIS   เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศ และการตัดสินใจสำหลับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ


DSS  เป็นระบบทีพัฒนาขึ้นในระบบ MIS อีกระดับหนึ่งเนื่องจากถึงแม้ว่าผู้มีหน้าทีในการตัดสินใจจะ
สามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบ MIS ของบริษัทสำหรรับการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                                                          แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

ความหมาย ความสำคัญ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          
     เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology) เกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยีทางด้านใดบ้าง

การเมือง
เศรษฐกิจ
สังคม
สิ่งแวดล้อม
อวกาศ


    เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อตัวคุณและการดำเนินชีวิตของคุณในด้านใดและอย่างไร
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด 
ผลกระทบในทางบวก

 ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับ เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจใน อนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ ได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้ เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้

1. คอมพิวเตอร์ (computer) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบ ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหาและให้เหตุผล ได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและทดลองที่จะพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถนำมาประยุกต์ ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสามารถใน การแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (executive information system) หรือ EIS เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและ กลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครง สร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้าน ต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งสถานะของคู่แข่งขันด้วย โดยที่ระบบจะต้องมีความละเอียดอ่อนตลอดจนง่ายต่อการใช้งาน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากไม่เคยชินกับการติดต่อและสั่งงานโดยตรง กับระบบคอมพิวเตอร์

4. การจดจำเสียง (voice recognition) เป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์จดจำเสียงของผู้ใช้ ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสาขานี้ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่นักวิทยา ศาสตร์ต้องการ ถ้าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการนำความรู้ต่าง ๆ มาใช้สร้างระบบการจดจำเสียง ก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลแก่การใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ไม่เคยชินกับการใช้คอมพิวเตอร์ให้สามารถปรับตัวเข้ากับ ระบบได้ง่าย เช่น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง การสั่งงานระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ และระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและขยายคุณค่าเพิ่มของเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีต่อธุรกิจ

5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronics data interchange) หรือEDI เป็นการส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อื่นโดยผ่านทางระบบสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายโดยตรง ปัจจุบันระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะช่วงลดระยะเวลาในการทำงานของแต่ละองค์การลง โดยองค์การจะสามารถส่งและรับสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อและใบตอบรับผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

6. เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optics) เป็นตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยการส่งสัญญาณ แสงผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่มัดรวมกัน การนำเส้นใยแก้วนำแสงมาใช้ในการสื่อสารก่อให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับ “ ทางด่วนข้อมูล (information superhighway)” ที่จะเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเส้นใยแก้วนำแสงได้ส่งผลกระทบต่อวงการสื่อสารมวลชนและการ ค้าขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

7. อินเทอร์เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก มีผู้ใช้งานหลายล้านคน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ ได้ ในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันในประเทศไทยที่เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์กับเครือข่าย นี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectec) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เป็นต้น

8. ระบบเครือข่าย (networking system) โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN)  เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่จะภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้สูงขึ้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังผลักดันให้เกิดการกระจาย ความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ใช้มากกว่าในอดีต

9. การประชุมทางไกล (teleconference) เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุมไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียว กัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในสภาวะการจราจรที่ติดขัด ตลอดจนผู้เข้าประชุมอยู่ในเขตที่ห่างไกลกันมาก

10. โทรทัศน์ตามสายและผ่านดาวเทียม (cable and sattleite TV) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไปยังผู้ชม จะมีผลทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ กว้างขึ้น โดยที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ชมรายการมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถตัดสินใจในทางเลือกต่าง ๆ ได้เหมาะสมขึ้น

11. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (multimedia technology) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาจัดเก็บข้อมูล หรือข่าวสารในลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปภาพ ข้อความ เสียง โดยสามารถเรียกกลับมาใช้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วยการประยุกต์เข้ากับความรู้ทางด้าน คอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวที่บันทึกในแผ่นดิสก์ (CD-ROM) จอภาพที่มีความละเอียดสูง (high resolution) เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ภาพ และเสียงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีที่ตื่นตัวและได้รับความสนใจจาก บุคคลหลายกลุ่ม เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา โฆษณา และบันเทิงเป็นอย่างมาก

12. การใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรม (computer base training) เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ หรือการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในด้านการเรียนการสอนที่เรียกว่า “ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน (computer assisted instruction) หรือ CAI” การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนเปิดช่องทางใหม่ในการเรียนรู้ โดยส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนปรัชญาการเรียนรู้ด้วยตนเอง

13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (computer aided design) หรือ CAD เป็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งรูปแบบหีบห่อของผลิตภัณฑ์หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทางด้านการออก แบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความเป็นจริง ตลอดจนช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในการออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา การแก้ไข และการจัดเก็บแบบ

14. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (computer aided manufacturing) หรือ CAM เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ในการทำงานที่ ซ้ำกัน ตลอดจนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่ ต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดระยะเวลาและแรงงาน ประการสำคัญ ช่วยให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอตามที่กำหนด

15. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) หรือ GIS เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ (graphics) และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดทำแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือและกู้ภัย เป็นต้น